วานนี้ทาง Microsoft ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้โพสต์ข้อความภายในบล็อกของตนว่า Microsoft กำลังพัฒนาเวอร์ชั่นถัดไปของ Windows อยู่ และพร้อมวางจำหน่ายได้ภายในระยะเวลาสองปี
เว็บไซต์ Winrumors ได้แปลข้อความดังกล่าวจากภาษาดัซด์ได้ใจความว่า "ยิ่งไปกว่านั้น Microsoft กำลังพัฒนาเวอร์ชั่นถัดไปของ Windows อยู่ ซึ่งจะต้องใช้เวลาสองปีกว่าที่ Windows 8 จะวางตลาดได้" โดยเมื่อเร็วๆ นี้ Steve Ballmer ซีอีโอของ Microsoft ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเวอร์ชั่นถัดไปของ Windows นั้นจะเป็น "การพนันที่เสี่ยงที่สุด" อันเนื่องมาจากความสำเร็จอันมากมายของ Windows 7 นั่นเอง
ที่มา: Neowin
เมื่อช่วงต้นเดือนมีหนังสือเล่มหนึ่งเขียน เรื่อง windows 8 สิ่งที่จะมีเข้ามาใน windows 8
Berrelfish: เหมาะสำหรับ Multicore
ระบบปฏิบัติการนี้จะมีเคอร์เนลเฉพาะสำหรับแต่ละแกนหลักของ CPU และมีไดรเวอร์พิเศษสำหรับ CPU แต่ละประเภท ข้อดีของมันคือ ประสิทธิภาพในการคำนวณจะเพิ่มขึ้นตามแกนหลักของ CPU และเจ้าระบบปฏิบัติการนี้ทำงานได้กับทุก Hardware
Singularity: ระบบที่ไม่มีวันล้ม
Singularity จะช่วยให้คุณลืมบลูสกรีนไปเลย มันยังสามารถป้องกันอันตรายจากมัลแวร์ได้อีกด้วย เคอร์เนลจะรันโปรแกรมใช้งานต่างๆ ขึ้นมาใน Runtime ที่ถูกแยกต่างหาก และจะทำการติดต่อกันผ่านทาง Exchange Heap จึงไม่ต้องกลัว Buffer Overrun อีก
Gazelle: บราวเซอร์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
Gazelle ทำให้สามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะมันจะทำการตรวจสอบที่มาของเนื้อหาในเว็บก่อน และจะทำการรันขึ้นมาในโพรเซสที่แยกต่างหาก
แยกเนื้อหา Gazelle จะแยกโค้ดคำสั่งที่อยู่ภายในเว็บออกเป็นโพรเซสที่แตกต่างกัน หากมันถูกโหลดมาจากที่ต่างกัน
กำหนดสิทธิ แต่ละโพรเซสจะได้สิทธิในการใช้งานต่างกันไป โค้ดที่มาจากแหล่งที่ไม่รู้จักจะถูกรันขึ้นมาโดยใช้สิทธิการใช้งานที่น้อยกว่า
Package Management: หมดปัญหาเรื่องซอฟต์แวร์
ผมเชื่อว่าคนแถวๆ นี้คงเคยใช้ลินุกซ์กันทุกคน และทุกคนก็คงรู้จักระบบจัดการแพกเกจบนลินุกซ์กันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นพวกตระกูลใหญ่อย่าง APT หรือ RPM/Yum รวมถึงระบบจัดการแพกเกจอื่นๆ เช่น Fink และ Portage
บนวินโดวส์ไม่มีระบบลักษณะนี้ และความยากเข็ญจะเกิดขึ้นทันที ถ้าเรามีเหตุต้องใช้โปรแกรมโอเพนซอร์สที่ออกแบบมาสำหรับยูนิกซ์บนวินโดวส์ ปัญหานี้ทำให้วินโดวส์ขาดแคลนโปรแกรมดีๆ หลายตัวที่อยู่บนฝั่งยูนิกซ์
Garrett Serack นักพัฒนาฝ่ายโอเพนซอร์สของไมโครซอฟท์ แก้ปัญหานี้ด้วยการสร้างระบบจัดการแพกเกจลักษณะเดียวกับฝั่งยูนิกซ์ขึ้นมาบนวินโดวส์ ชื่อของมันคือ CoApp (ย่อมาจาก The Common Opensource Application Publishing Platform)
CoApp จะใช้ฟอร์แมต .msi สำหรับแพกเกจของโปรแกรม ใช้ WinSxS สำหรับจัดการเวอร์ชันของโปรแกรม (WinSxS ใช้จัดการเวอร์ชันของไฟล์ .dll) และใช้เทคโนโลยีของวินโดวส์อีกหลายๆ ตัว เพื่อวิธีทำงานไม่แตกต่างไปจากระบบโปรแกรมของวินโดวส์แบบปกติ
CoApp เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น ใช้สัญญาอนุญาตแบบโอเพนซอร์สทั้งหมด และได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ 100% ซอร์สโค้ดของโครงการอยู่บน Launchpad อีกต่างหาก
ที่มา - MSDN, Ars Technica ,blognone
Windows 8 พร้อมรับเทคโนโลยีใหม่แล้ว
64 แทนที่ 32 บิต: Windows 8 จะมีแต่ เวอร์ชัน 64 เท่านั้น
EFI แทนที่ BIOS , .Net แทนที่ Com ,MF แทนที่ DirectShow
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น