วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ด้านที่สองของ APPLE

Apple_logo

   แอปเปิลลนั้นเป็นผู้นำเทรนใหม่อย่างแท้จริง ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้ปฏิวัติตลาดเพลงด้วย iPod แล้วยังได้ผลิตสมาร์ทโฟนที่เป็นขวัญใจมหาชนอย่าง IPhone รวมทั้งอุปกรณ์แท็บเล็ตสุดล้ำยุคอย่าง iPad ด้วย จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกอะไรหากจะกล่าวว่าแอปเปิลนั้นถือเป็นบริษัทต้นแบบ แห่งโลกแห่งดิจิตอลยุคใหม่ ชนิดที่ยากใครจะหาเทียบได้ ทั้งแอปเปิลมักจะมีแรงบัลดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องจนในบางครั้งก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่เดียว แต่อย่างไรก็ดีหากคุณจับตามองแอปเปิลอย่างใกล้ชิดแล้วก็จะพบกับข้อมูลอีกด้านหนึ่งเช่นกัน บริษัทที่ได้รับการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างใหม่โดย Steve Jobs จนมีอำนาจทางการตลาดสูงสุดในปัจจุบันนั้นได้ยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับสินค้าในโลกของไอทีจำนวนมาก และนั่นก็ทำให้แอปเปิลต้องเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ระดับยักษ์ใหญ่อย่าง Adobe, Google และ Amazon อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
   ต่อไปนี้เราจะแสดงให้คุณเห็นว่าแอปเปิลนั้นก่อให้เกิดความวุ่นวาย กับโลกของมัลติมีเดีย, ผู้พัฒนาแอพพลิเคชัน, สมาพันธ์ควบคุมการแข่งขันทางการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ผู้ใช้ที่ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับสินค้าของแอปเปิลอย่างไรบ้าง ยิ่งไปกว่านั้นคุณก็จะได้ทราบด้วยว่าทำไม Google จึงไม่ได้เป็นหุ้นส่วนส่วนที่ดีของแอปเปิลอีกต่อไปจนทำให้ Steve Jobs ต้องหันไปร่วมงานกับคู่แข่งในอดีตอย่างไมโครซอฟท์รวมทั้งเสิร์ชเอนจินของพวกเขาอย่าง Bing แทน

ist2_5147381-red-apple-and-plug

ผู้ใช้แอปเปิล: นวัตกรรมแห่งความเข้ากันได้
   แอปเปิลได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอและมักจะไม่ค่อยยึดติดกับสื่อเก็บข้อมูลประเภทดิสก์ไดรฟ์ทรงสี่เหลี่ยมเท่าใดนัก จนกระทั่งในปัจุบันนี้แอปเปิลก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นผู้ในทางด้านแนวคิดดังกล่าวอย่างชัดเจน ด้วยเครื่อง iPad ที่ไม่ได้มาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อแบบยูเอสบี โดยสิ่งที่จะนำมาเชื่อมต่อกับมันได้ก็จะต้องเป็นอุปกรณ์เสริม เฉพาะของแอปเปิลเองซึ่งต้องจ่ายเงินเพิ่มเท่านั้น
   สิ่งที่ดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับแอปเปิลนั้นกลับกลายเป็นเรื่องที่น่ารำคาญสำหรับผู้ใช้ iPod, iPhone และ iPad ทั่วไป เนื่องจาก iPad จะไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ Plug&Play รวมอยู่ด้วย แต่สำหรับเครื่อง iMac นั้นผู้ใช้จะสามารถนำไดรฟ์ซีดีมาติดตั้งแทนที่ฟลอปปี้ดิสก์ ได้ทันทีแต่จนถึงขณะนี้แอปเปิลเองก็ยังไม่มีทางเลือกที่ ใช้ในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ iPad จึงกลายเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ดูแล้วไม่ค่อยได้เรื่องนัก นอกจากนี้บริการที่อยู่บนพื้นฐานของคราวด์เน็ตเวิร์ก หรืออย่างน้อยก็ทางเลือกในการใช้ iPad เป็นไดรฟ์บนระบบเน็ตเวิร์กนั้นจะเป็นไปได้ก็ด้วยบริการจาก MobileMe อันแสนจำกัดเท่านั้น และแม้แอปเปิลจะกำลังวางแผนเกี่ยวกับโครงการของ iTunes ในเวอร์ชันออนไลน์แต่ก็ยังคงต้องใช้เวลาอีกนาน โดยสิ่งที่ผู้ใช้ iPod, iPhone หรือ iPad สามารถทำได้ในขณะนี้ก็เพียงแค่เชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งสามชนิดนี้เข้ากับเครื่องพีซีและซิงก์โครไนซ์ข้อมูลเข้าไปเท่านั้น ซึ่งดูจะห่างไกลจากเรื่องของการปฏิวัติที่แอปเปิลโฆษณาไว้มากมายทีเดียว

html5-vs-flash1

Adobe: ต้องการ HTML5 และยังคงไม่สนใจ Flash
   แอปเปิลนั้นดูเหมือนจะเป็นบริษัทแถวหน้าที่กำลังผลักดันมาตรฐานใหม่อย่าง HTML5 ให้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมันมาพร้อมกับคุณสมบัติที่สำคัญอย่างเช่นการแสดงเนื้อหาแบบมัลติมีเดียโดยไม่จำป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินเข้ากับบราวเซร์ ซึ่งตัว Steve Jobs เองก็เห็นด้วยว่าทั้ง HTML, JavaScript และ CSS นั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสำคัญที่มีอิทธิพลต่อโลกของอินเตอร์เน็ตด้วยกันทั้งสิ้น นั่งจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมแอปเปิลจึงต้องรีบผลักดันผู้สืบทอดที่จะมารับช่วงต่อจากมาตรฐานเก่าอย่าง HTML 4.01 ที่มีอายุกว่า 11 ปีโดยเร็วที่สุด
   อย่างไรก็ดีแอปเปิลก็กำลังเดิมพันกับมาตรฐานเพียงชนิดเดียวที่ยังไม่มีใครรู้ว่ามันจะปรากฏตัวจริงๆ ได้เมื่อไหร่ เพราะกลุ่ม WHATWG ที่กำลังพัฒนามาตรฐานนี้อยู่รวมทั้งคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการแสดงผลบนหน้าเว็บอย่าง W3C ต่างก็ยังไม่ได้ลงนามในข้อตกลงเพราะยังไม่เห็นด้วยกับรายละเอียดในหลายๆจุด หรือแม้กะทั้งแต่เว็บไซต์พอร์ทัลวีดีโอขนาดใหญ่อย่าง YouTube ของ Google ที่นำมาตรฐาน HTML5 มาใช้เป็นรายแรกจนสามารถแสดงผลได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Flash ภายใต้เว็บไซต์ www.youtube.com/html5 ก็ยังไม่ค่อยมั่นใจในอนาคตของ HTML5 เท่าใดนัก โดยรูปแบบไฟล์ของ Adobe นั้นก็ยังคงมีข้อได้เปรียบมากกว่าโดยเฉพาะการแสดงผลวีดีโอสตรีมความละเอียดสูงและรูปแบบ Pull-Page นอกจากนี้ HTML5 ยังขาดคุณสมบัติในการสนับสนุนการป้องกัน DRM ซึ่งจำเป็นต่อการแสดงผลวีดีโอบางชนิดดังนั้นการนำมาตรฐาน HTML5 มาใช้อย่างเป็นทางการจึงยังคงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็วๆ นี้
   เรื่องดังกล่าวดูเหมือนจะไม่ได้ทำให้แอปเปิลรู้สึกสะทกสะท้านอะไรเท่าใดนักเพราะจนถึงขณะนี้ Safari เวอร์ชันโมบายล์ก็ยังคงไม่สนับสนุน Flash โดยจะสามารถเรียกเปิดวีดีโอขึ้นมาได้ด้วยการติตตั้งแอพพลิเคชันพิเศษลงไปหรือเฉพาะบางเว็บไซต์ที่ออกแบบให้สามารถแสดงผลวีดีโอบนอุปกรณ์พกพาของแอปเปิลได้เท่านั้นด้วยเหตุนี้ผู้ให้บริการวีดีโอจำนวนมากจึงจำเป็นต้องปรับปรุงเว็บไซต์ของพวกเขาเสียใหม่ ซึ่งด้วยกลุ่มผู้ใช้ iPhone จำนวนมาก จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ให้บริการเหล่านี้จะเพิกเฉยต่อการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การดึงดูดกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ ดังนั้นหากจะกล่าวว่าแอปเปิลมีอิธิพลต่อผู้ใช้ที่ไม่ได้มีทั้ง iPod หรือ iPhone ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินจริงเลย เพราะสุดท้ายแล้วพวกเขาก็จะต้องเรียกเปิดเว็บด้วยมุมมองที่ออกแบบมาสำหรับแอปเปิลแม้ว่าจะไม่เต็มใจก็ตาม
   สำหรับเหตุผลที่ Adobe ถูกปฏิเสธนั้นฟังดูแล้วก็ไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าใดนัก โดย Steve Jobs ก็ได้ให้เน็ตผลไว้ในจดหมายเปิดผนึกในต้นเดือนเมษาที่ผ่านมาว่า Flash นั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์ของพวกเขาทำงานล้มเหลวและยังใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งนั้นก็ทำให้ Adobe ออกมาคัดค้านอย่างรุนแรง และในเวลาต่อมาก็ได้เปิดตัว Flash Player 10.1 ออกสู่ตลาดโดยมีความสามารถในการรองรับการเร่งความเร็วด้วยฮาร์ดแวร์ในตัวซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระของซีพียูของเครื่องพีซีลงได้มาก หรือแม้กระทั่งกรณีของเครื่อง Mac ก็เช่นกันโดยในการทดสอบเบื้องต้นบนเครื่อง MacBook Pro ที่มาพร้อมกับซีพียูความเร็ว 2.66GHz และการ์ดแสดงผล Geforce GT330M นั้นก็พบว่ามันช่วยลดการใช้งานซีพียู เวลาที่รียกเปิดไฟล์วีดีโอแบบ HD บนเว็บไซต์ YouTube จากประมาณ 80เปอร์เซ็นต์เหลือเพียง 40 เปอร์เซ็นเท่านั้น และนั่นก็ส่งผลให้ประหยัดแบตเตอรี่ได้มากขึ้นตามไปด้วย จดหมายของ Steve Jobs นั้นก็ได้ถูกตีพิมพ์ออกมาก่อน Flash Player เวอร์ชันปรับปรุงเป็นเวลาเล็กน้อย แต่สำหรับเอกสารที่เป็นประโยชน์กับ Adobe อย่างเช่นข้อมูล API ของ Mac Hardware นั้น จนถึงขณะนี้แอปเปิลก็ยังคงไม่ตีพิมพ์ออกมาแต่อย่างใด
   เพื่อยืนยันว่า Streve Job ต้องการให้ HTML5 กลายเป็นมาตรฐานใหม่อย่างจริงจัง เราก็ได้พบ ว่าแอปเปิลเองก็ถึงต้องกับทำเรื่องที่ไม่ค่อยเป็นธรรมนัก โดยฟีเจอร์ใหม่ของมาตรฐานการแสดงผลเว็บแห่งอนาคตอย่าง HTML5 เวอร์ชันเดโมที่อยู่บนเว็บไซต์ www.apple.com/html5 นั้นจะมีเพียงผู้ที่ใช้บราวเซอร์จากแอปเปิลเท่านั้นที่สามารถเรียกเปิดขึ้นมาดูได้ ส่วนผู้ที่ใช้บราวเซอร์อื่นก็จะไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์นี้ได้ "คุณจะต้องใช้ Safari สำหรับการเรียกดูเดโมของมาตรฐานการแสดงผลเว็บแบบล่าสุดนี้" คือข้อความที่จะได้รับหากคุณใช้บราวเซอร์อย่าง Firefox หรือ Chrome เปิดเข้าไป ทั้งๆ ที่บราวเซอร์เหล่านี้ต่างก็สนับสนุน HTML5 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
   อย่างไรก็ตามวิธีจัดการกับเล่ห์เหลี่ยมของแอปเปิลในรูปแบบนี้ก็คือให้คุณเปลี่ยนแปลงค่าของ User Agent ในบราวเซอร์ Chrome เล็กน้อย และจำลองหน้าเว็บของแอปเปิลที่ออกแบบมาเฉพาะบราวเซอร์ Safari ขึ้นมาใหม่ เพียงเท่านี้เดโมเหล่านั้นก็จะสามารถรันด้วย Firefox และ Chrome ได้แบบไร้ปัญหา วิธีการนี้สามารถนำไปใช้กับการเซิร์ฟไปยังหน้าเว็บโดยตรงได้อีกด้วยอย่างเช่น http://developer.apple.com/safaridemos/typography.php โดยเรียกเปิดเดโมขึ้นมาบนแท็บใหม่ ซึ่งด้วยเคล็ดลับดังกล่าวนี้ก็ทำให้แอปเปิลกลายเป็นตัวตลกในการแข่งขันทางด้านบราวเซอร์ในที่สุด เห็นได้อย่างชัดเจนว่าจุดแบ่งทางการตลาดซึ่งจากเดิมก็มีอยู่เพียงแค่ 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

apple-vs-google

Google: แอปเปิลสร้างคู่แข่งจากความแตกร้าวและก้าวร้าว
   แอปเปิลยังคงก้าวต่อไปอย่างไม่ยุดยั้งจนทำให้ความสัมพันธ์กับบริษัทอื่นๆ ต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ตัวอย่างที่สำคัญในที่นี้ก็คือ Google เพราะขณะที่แอปเปิลกำลังดื่มด่ำกับความสำเร็จของ iPhone แต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีกับอดีตเพื่อนร่วมงานรายนี้ก็เป็นอันดับต้องแตกร้าวในที่สุด โดยเฉพาะกรณีที่แอปเปิลต้องการขยาย แพลตฟอร์มสำหรับการโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยการเปิดตัว iAd ออกสู่ตลาด โดยนักวิเคราะห์ต่างก็คาดการณ์ว่าแอปเปิลนั้นต้องการที่จะรุกตลาดการโฆษณาบนเว็บอย่างรุนแรง ซึ่งภายในเวลาเพียง 8 สัปดาห์แรกนั้นแอปเปิลก็ได้รับการสั่งจองโฆษณาโดยมีมูลค่ารวมทั้งหมดถึง 60 ล้านดอลลาร์โดยไม่เว้นแม้แต่สินค้าในกลุ่มเล็กๆ ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
   ความทะเยอทะยานของแอปเปิลยังคงไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ พวกเขาต้องการที่จะเป็นผู้นำ ในด้านนี้โดยมีเป้าหมายในการขจัดโฆษณาของ Google ออกจากแอพพลิเคชันที่ประสบความสำเร็จโดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ด้วยเหตุนี้แอปเปิลจึงจำเป็นต้องผูกขาดตลาดการโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือโดยใช้ iPhone และ iPad เป็นเครื่องมือหลัก ซึ่ง Google ก็ได้วิจารณ์การกระทำดังกล่าวนี้ว่าในไม่ช้านี้ทั้งผู้พัฒนาและผู้ใช้ก็จะต้องพบกับความยากลำบากเพราะในท้ายที่สุดแล้วแอพพลิเคชันให้ดียิ่งขึ้นเพราะมัวแต่มุ่งความสนใจไปที่ iAd ของแอปเปิล ท้ายที่สุดแล้วก็จะไม่มีการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์อีกต่อไป
   พฤติกรรมของแอปเปิลได้กลายเป็นที่สนใจของสมาพันธ์คุ้มครองการแข่งขันทางการค้าแห่งสหรัฐอเมริกาในที่สุด ซึ่ง FTC (Federail Trade Commission) ก็กำลังทำการตรวจสอบอยู่ว่าการกีดกัน Google ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายหรือไม่ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกสำหรับการกระทำที่ค่อนข้างน่าเกลียดเช่นนี้เพราะแม้แต่ Amazon เองก็เคยมีประสบการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้กับแอปเปิลมาแล้วในเรื่องของการดาวน์โหลดเพลง ซึ่งก็ทำให้แอปเปิลมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ลำดับที่ 2 อย่าง Amazon นั้นมีเพียงแค่ 12 เปอร์เซ็นเท่านั้น อย่างไรก็ตามการผูกขาดในเรื่องนี้ก็ทำให้บรรดาเจ้าของธุรกิจเพลงต้องถูกบังคับให้ดำเนินนโยบายตามแอปเปิลไปด้วย กล่าวคือจะต้องเปิดให้มีการดาวน์โหลดเพลงเป็นกรณีพิเศษ 1 วันก่อนที่จะวางจำหน่ายจริง
   รายงานจากนิตยสารเพื่อการค้าขายเพลงของอเมริกาอย่าง "Billboard" นั้นระบุว่า แอปเปิลได้พยายามชักชวนให้บริษัทเพลงต่างๆ เข้ามาร่วมธุรกิจกับตน ซึ่งผลร้ายที่จะเกิดขึ้นก็คือ ในอนาคตแอปเปิลก็จะไม่จำเป็นต้องนำมาเสนอเพลงเหล่านั้นผ่านทาง iTunes Store อีกต่อไป ทางด้านกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาก็กำลังตรวจสอบอยู่ว่าการกระทำดังกล่าวของแอปเปิลนั้นเข้าข่ายผิดกฏหมายแห่งการแข่งขันทางการค้าหรือไม่ และนอกจากนี้ก็ยังมีการกระทำอีกอย่างที่ขัดหูขัดตาอย่างยิ่ง นั้นก็คือแอปเปิลได้สั่งห้ามไม่ให้มีการพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับ iPhone โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรมประเภท Flash อย่างเด็ดขาด โดยแอพพลิเคชันทุกตัวจะต้องได้รับการพัฒนาด้วยเครื่องมือภายใต้ สภาพแวดล้อมของแอปเปิลที่สามารถรันได้เฉพาะบนระบบปฏิบัติการของแอปเปิลเองอย่าง OS X เท่านั้น ด้วยเหตุนี้แอพพลิเคชันที่พัฒนาจากผลิตภัณฑ์ของ Adobe จึงหมดสิทธิ์ไปโดยปริยาย ยิ่งไปกว่านั้นสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ หรือหนังสือนวนิยายที่ถูกสร้างขึ้นด้วยผลิตภัณฑ์ของ Adobe ก็ได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นกัน เพราะการจะแปลงเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบของแอพพลิเคชันสำหรับแอปเปิลนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากมากอีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

 android-market-app-store

นักพัฒนา: ความปลอดภัยของแอพพลิเคชันภายใต้กฏเข้มเต็มพิกัด
   หากคุณเปรียบเทียบ App Store กับ Android Market ของ Google ก็จะพบว่าแอปเปิลเป็นผู้ชนะอย่างขาดลอยโดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย เพราะจะมีเพียงซอฟต์แวร์ที่ผ่านการทดสอบคุณภาพด้วยมาตรฐาานอันเข้มงวดเท่านั้นที่จะสามารถ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของร้านค้าอันโด่งดังของแอปเปิลได้ ส่วนโปรแกรมอันตรายต่างๆ นั้นจะไม่สามารถเล็ดลอดการตรวจสอบไปได้ง่ายๆ ซึ่งต่างจากกรณีของ Android เป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างก็คือแม้แต่โปรแกรมทำธุรกรรมออนไลน์ปลอมที่ออกแบบมาเพื่อการขโมบข้อมูลล็อกอินของผู้ใช้โดยเฉพาะก็ยังมีให้ดาวน์โหลดอยู่เป็นระยะ

   แต่ทว่าภายใต้ความปลอดภัยดังกล่าวนั้นก็มีข้อเสียอยู่ด้วยเช่นกัน โดยอย่างแรกก็คือกลไกการควบคุมแอพพลิเคชันที่ยังไม่ค่อยดีนัก โปรแกรมเมอร์ทุกคนต่างทำได้เพียงแค่หวังว่าแอปเปิลจะนำโปรแกรมของเขาไปไว้ใน Apple Store โดยเร็วที่สุด แต่ทว่าหลักเกณฑ์ของแอปเปิลนั้นกลับไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอน แอพพลิเคชันบางตัวอาจถูกปฏิเสธหรือถูกแบนได้ โดยไม่ทราบสาเหตุ และอย่างที่สองก็คือแอปเปิลดูจะไม่ค่อยให้สิทธิในการรำเสนอสักเท่าใดนักเพราะถ้าหากแอพพลิเคชันใดมีเนื้อหา ที่ขัดแย้งต่อหลักศีลธรรมตามความคิดของแอปเปิลก็อาจจะถูกลบออกไปทันที ตัวอย่างก็คือแอพพลิเคชันของนิตยสาร "Steam" ที่ได้ถูกลบออกไปจากร้าน ค้าในเดือนพฤศจิกายน ปี 2009 ซึ่งเหลุผลในเรื่องดังกล่าวก็คือนิตยสารเล่มนี้มีภาพร่างการที่ค่อนข้างเปลือยเปล่าอยู่มากเกินไป
   ทางเลือกที่ยากลำบากแต่แน่นอนว่าสำหรับนักพัฒนาก็คือการเลิกงอ App Store และหันไปพึ่งพาวิธีการพื้นฐานหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับเว็บแทน ซึ่งด้วยวิธีการดังกล่าวนี้จะช่วยทำให้คุณสามารถสร้างแอพพลิเคชันอย่างเช่น Joana than Stark ที่มีลักษณะเดียวกันกับเวอร์ชันของ iPhone App ได้โดยใช้เครื่องมือมาตรฐาน HTML, CSS และ JavaScript
   ดูเหมือนว่า Steve Jobs จะกระตือรือร้นกับมาตรฐานแบบเปิดของอินเตอร์เน็ตมากเป็นพิเศษ แต่นโยบายต่างๆ ของแอปเปิลนั้นกลับฟังดูขัดแย้งกับหลักการดังกล่าวอย่างชัดเจนโดย เฉพาะเครื่อง iPad เท่านั้น แต่ควรจะให้ความสำคัญกับเนื้อหาใน "รูปแบบเปิด" ที่จะสามารถเรียกใช้งานได้บนอุปกรณ์ทุกชนิดมากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น