วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เจาะลึก Windows Mobile 6

ผู้เข้าประชุมนับพันต่างเงียบมีแต่เสียงของสตีฟ บัลเมอร์ (ซีฮีโอไมโครซอฟท์) พูดอยู่ในห้องประชุมของ 3GSM ที่เมือง Barcelona เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นี่คืองานแสดงสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์โมบายที่ใหญ่ที่สุดในโลกผู้เข้าร่วมงานล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในวงการอุตสาหกรรมมือถือจากทั่วโลก ชื่อระหัสของมัน Crossbow
เพราะนี้คืออาวุธไม้ตายที่ไมโครซอฟท์กำลังเล็งไปที่หัวใจของบริษัทคู่แข่ง
คุก (รองประธานอวุโสแผนกไมโครซอฟล์แวร์โมบายของไมโครซอฟต์) ได้ทำหน้าที่พูดนำเสนอโดยมีภาพเคลื่อนไหวบนจอขนาดยักษ์เป็นตัวช้สนอธิบาย นี่คือการเปิดตัว
Windows Mobile 6 (WM6) ซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะที่ทุกคนรอมานานเกือบ 2 ปี!

windows-mobile-6.jpg



ความเป็นมาของ Windows Mobile

เมื่อสิบปีที่แล้วบริษัทไมโครซอฟท์ได้ออกโปรแกรมระบบปฎิบัติการในคอมพิวเอตร์ขนาดมือถือ (Handheld personal computer กินความไปถึงโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนด้วย ต่อไปจะเรียกย่อว่า HPC ) เพื่อตอบโต้ระบบปฎิบัติกา Plam OS ที่ ไมโครซอฟท์ได้มองว่าเป็นภัยคุกคาม
ระบบปฎิบัติการใน HPC แตกต่างจากระบบปฎิบัติการในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพราะระบบปฎิบัตการ HPC จะอยู่ภายในแฟลชรอม ส่วนระบบปฎิบัติการในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คจะเป็นจะเป็นตัวเดียวกับคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป(พีชี)เลย เนื่องจาก HPC มีทรัพยากรจำกัด คือมีหน่วยความจำน้อย มีซีพียูไม่เร็วมาก มีจอขนาดเล็กและไม่มีเมาสื ริษัทไมโครซอฟทฺจึงตัดสินใจสร้างระบบปฎิบัติการใหม่สำหรับ HPC โดยเฉพาะชื่อ "Windows CE" (WinCE) แกนหลักของ WinCE มีขนาดเพัยงหนึ่งเมกะไบต์ ถูกนำไปใช้เป็นหัวใจหลักของระบบปฎิบัตืการหลายตัว เช่น pocket Pc 2000
, Pocker PC 2002, Mobile 2003, Mobile 2003 SE, Mobail 5.0, Smatphone 2002, Smatphone 2003 แม้กระทั่งในเครื่องเล่นเกมอย่าง Sega Dreamcast, WinCE ออกเวอร์ชันแรกในปี่ 1996 และถูกปรับรุ่นมาเรื่อยจน ล่าสุดในปี่ 2006 เป็นเวอร์ชัน 6.0 ส่วน WM6
มีแกหลักเป็น WinCE 5.0 สาเหตุที่ไม่ใช้ WInCE 6.0 ก็เพราะต้องการให้เข้ากนได้ของซอฟต์แวร์เดิม จากการทดสอบพบว่าซอฟต์แวร์ใน WM5 สามารถทำงานใน WM6 ได้อย่างราบรื่นทุกตัว

Widows Mobile ถูกปรับเปลี่ยนรุ่นและเปลี่ยนชื่อมาแล้วหลายครั้งตามนี้

* Windows Moile 6.0 เปิดตัวเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007
* Windows Moile 5.0 เปิดตัวเดือนพฤษภาคม 2005
* Windows Moile 2003 Second Edition เปิดตัวเดือนมีนาคม 2005
* Windows Moile 2003 เปิตัวเดือนมิถุนายน 2003
* Pocket PC 2002 เปิดตัวเดือนตุลาคม 2001
* Pocket PC 2000 (Palm-size PC v2) เปิดตัวเดือนเมษายน 2000
* Palm PC v1.0/1.0 เปิดตัวเดือนมกราคม 1998

แก้ตัวด้วย AKU

ช่วงระหว่างพฤษภาคม 2005 ถึงกุมภาพันธ์ 2007 มการปรับปรุ่งรุ่น WM5 หลายครั้ง แต่เป็นปรับย่อยๆ เพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง เราเรียกว่าการปรับเช่นนี้ว่า AKU
AKU ย่อมาจาก Adaptation kit upgrade เป็นคำที่บริษัทไมโครซอฟท์ใช้เรียกปรับรุ่นย่อยของ WM เหมือนที่เราเรียดการปรับรุ่นย่อยของ Windows XP ว่า Service pack ป็นซอฟต์แวร์ที่ปล่อยออกมาหลังเวอร์ชันหลักๆ ถูกใช้งานไปแล้วประมาณห้เดือน เพื่อแก้ปัญหาข้อบกพร่อง เพื่อเพิ่มคุณลักษณะบางอย่างยกตัวอย่าง บริษัทไมโครซอฟท์ ออก WM5แล้วพอว่าเมื่อผู้ใช้ลอกโทรศัพท์ไว้ จะไม่สามารโทรออกหมายเลขฉุกเฉินได้ ไมโครซอฟท์จึงออก AKU 01. เพื่อแก้ปัญหนี้ภายในไม่กี่เดือน หลังจากนั้นสำหรับ AKU นั้นต่างจาก Service Pack ของวินโดวส์เอ็กซ์พี ตรงที่เราสามารถดาวน์โหลดหรือหาแผ่น SP ของวิโดวส์ เอ็กพี มาติดตั้งเพื่อปรับปรุงระบบปฎิบัติการในคอมพิวเตอร์ของเราได้เอง แต่เราทำเช่นนั้นกับ AKU ของ PHC ไม่ได้ เพราะซอฟต์แวร์เหล่านี้ต้องถูกออกบรรจุไว้นหน่วยความจำแฟลชรอมจากโรงานผู้ผลิต AKU ล่าสุดของ WM5 ก่อน WM6 คือ AKU 3.0 ซึ่งมีรหัสขานว่า Venti มีคุณสมบัติเด่นๆมากมาย เช่นโปรแกรม IE สนับสนุน AJAX และมี Wizard หลายัวเพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องต่างๆ เช่นการติดตั้ง WiFi

จาก AKU สู่ RTM

การสร้าง AKU ก็เหมือนซอฟต์แวร์ทั่วไป คือ ขั้นแรกจะออกเป็นรุ่นอัลฟา และรุ่นเบต้าเพื่อทดสอบภายในบริษัท ไมโครซอฟท์เอง และส่งให้โรงงานผู้ผลิต HPC นำไปทดสอบด้วย เมื่อทดสอบและแก้ไขจนจบระบวนการแล้วบริษัทไมโครซอฟท์จะส่ง AKU ขั้นสุดท้ายที่สมบูรณ์แล้วให้โรงงานผู้ผลิต เรียกว่า RTM หรือ Release ธน ?ฟืดฟแะพรืเ g,njvz6hz]b9 ็ญฉ ได้รับ RTM แล้ว การนำไปใส่ในอุปกรณ์และวางตลาดต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 120 วัน ดงันั่น เมื่อมีโทรศัพท์รุ่นใหม่ออกวางตลาดพร้อม AKU ล่าสุดแล้ว การออก AKU รุ่นใหม่อีกครั้งจึงต้งใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสี่เดือน

ความต้องการของระบบปฎิบัติการ

ระบบปฎิบัติการใน HPC อย่าง WM ความต้องการของระบบเป็นเรื่องที่ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลอะไรเลย เพราะระบบปฎิบัติการจะฝังมาในตัวอุปกรณ์ที่
จะซื้อมาใช้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องการอัพเกรตก็ไม่ต้องกังวล เพราะหากสามารถอัพเกรดได้ ผู้ผลิตมักแจ้งให้ลูกค้านำเครื่องมาอัพเกรดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากต้องการอัพเกรดไม่ได้แต่ต้องการใช้ WM รุ่นใหม่ล่าสุดก็ไม่มีทางเลือกนอกจาก ต้องซื้อ HPC เครื่องใหม่ WM6 ต้องการหน่วยความจำเท่ากับWM5 นั่นคือ แฟลสรอมขนาด 32 เมกะไบต์ แลพแรมขนาดเท่ากัน ส่วนซีพียูจะต้องมีควาเร็วไม่ต่ำกว่า 200 MHz อุปกรณ์ที่จะมีขายมักมีหน่วยความจำแต่ละแบบไม่ต่ำกว่า 64 เมกะไบต์ และซีพียู 400 MHz ขึ้นไป

สามรุ่นสามสร

HPC ไม่ได้มีเพีงโทรศัพท์เคลื่นที่ HPC ที่ใช้งานกับ WM6 แต่มีด้วยกันถึงสามแบบคือ พ็อกเก็ตพีชี พีดีเอโฟน และสมาร์ทโฟน
Pocket PC : คือคอมพิวเตอร์ขนาดกระเป๋า ธรรมดาที่ไม่มีโทรศัพท์ในตัว มักเรียกว่า PDA หรือ Personal Digital Assistance มีจุดเด่นคือหน้าจอใหญ่และเป็นระบบสัมผัส ใช้สไตลัสทำหน้าที่เป็นทั้งปากกาและเมาส์ช่วยให้ผุ้ใช้ป้อนข้อมูลได้สะดวกเหมือนใช้ปากาจดบันทึกในกระดาษ
PDA Phone : บางที่เรียกว่า พ็อกเก็ตพีซีโฟน หมายถึง พ็อกเก็ตพีชีที่มีโทรศัพท์ในตัว รูปร่างหน้สตาและคุณสมบัติเหมือนพ็อกเก็ตพีซีทุกอย่าง แต่จะมีคุณสมบัติด้านโทรศัพท์ในตัว ขนาดเครื่องจะหนาหว่าหน่อย และบางรุ่นก็มักมีเสาอากาศสั้นๆ ด้วย
SmartPhone : หมายถึง โทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมีคุณสมบัติบงอย่างคล้ายพ็อกเฏ็ตพีซีแต่ไม่มีจอระบบสัมผส การป้อนข้อมูลต้องใช้เพียงปุ่มหน้าเครื่อง ขนาดของเครื่องมักจะเล็กกว่าอุปกรณ์สองแบบแรก บางรุ่นอาจมีแป้นพิมพ์ครบชุด เพื่ออำนวยความสะดวกในกาป้อนพิมพ์ข้อมูลยาวๆ

WM6 แต่ละรุ่นดังกล่าวมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เหมือนกัน มีเพียงส่วนปลีกย่อยที่แตกต่างกันเล็กน้อยเฃ่น WMS จะไม่สนับนุนจอแบบสัมผัส และไม่มีส่วนเข้าถึงพีซีจากทางไกล ส่วน WMC จะไม่มีซอฟต์แวร์ส่วนที่เกี่ยวข้งกับการใช้งานโทรศัพท์.

ความแตกต่างที่รู้สึกได

การใช้งาน HPC ที่ใช้ WM6 เมื่อเปิดเครื่องครั้งแรกเราต้องป้อนรหัสผ่าน ตามด้วยการกำหนดค่าเริ่มต้นให้อีเมล์ โดยจะมี Wizard ที่ช่วยใหเการตั้งค่าต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมือใหม่ถึงสามารถตั้งค่าอีเมล์เองได้ เสียงเตือนของระบบ และเสียงเรียกเข้าของเดิมถูกแทนที่ด้วยชุดเสียงใหม่ทั้งหมด ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ถูกยกเครื่องทั้งหมดเฃ่นกันไอคอนและปุ่มต่างๆ ดูนุ่นนวลและเป็นสามมิติ ลักษณะภาพหน้าจอถูกปรับให้กลมกลืนกับวินโดวส์ วิสต้าแต่เมื่อลองใช้ดูสักพักจะพบว่านอกจากภาพสวยขึ้นและทำงานเร็วขึ้นแล้ว ทุกอย่างยังคงเหมือน WM5 ปุ่มรูปกากบาทที่มุมบนด้านขวายังคงทำหน้าที่หดโปรแกรมเป็นไอคอนเหมือน WM5 ระบบปฎิบัติการจะตัดสินใจเองว่าจะจบการทำงานของโปรแกรมเมื่อใด หากเราต้องการปิดโปรแกรมก็ต้องไปติดตั้งโปรแกรมพิเสษอักต่างหาก แถบด้านบนยังคงเหมือนเดิม คือมีปุ่ Start อยู่ทางซ้ายสุด ตามด้วยไอคอนแสดงสถานะของการเชื่อมตอ GPRS,Wi-Fi ตามด้วยไอคอนแสดงความแรงของสัญญาณ ระดับเสียง พลังงาน และนาฬิกา ตามลำดับ

การป้อนข้อมูล

ก่อนหน้านี้ WM5 จัดให้มีซอฟต์คีย์เพื่อสนับสนุนHPC รุ่นที่มีแป้นพิมพ์แบบ QWERTY และคุณสมบัติที่สะดวกมกคือ การควบคุมงานส่วนใหญ่ทำได้ด้วยมือเดียว ไม่ต้องใช้สไตลัสใน AKU รุ่นหลักๆ ได้ปรับปรุงใช้สไตลัสอยู่ดี มีโทรศัพท์หลายรุ่นที่มาพร้อมกับแป้นพิมพ์ QWERTY เราก็สามารถหาซื้อแป้นพิมพ์ QWERTY ที่เป็นบลูทูธ,k.=hwfh เพราะ WM6 มีโพรไฟล์ของ HID เตรียมไว้ให้แล้ว
WM6 สนับสนุนการกดปุ่มทางลัดในแป้พิมพ์ QWERTY ทำให้เราใช้งานโปรแกรมชุดไมโครซอฟท์ออฟฟิสโดยใช้แป้นทางลัดให้เหมือนโปรแกรมพีซี และนี่แสดงให้เห็นว่านับวันโปรแกรมใน HPC จะใช้งานได้ใกล้เคียงโปรแกรมชื่อเดียวกันในพีซีมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ WM5 มีคุณสมบัติทำนายข้อความ ซึ่งเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช้วยให้เราป้อนให้รวดเร็วยิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องกดแป้นพิมพ์มากครั้ง คุณสมบัตินี้ได้รับคำปรากฎให้เลือกถึงสี่คำ ซึ่งคำเหล่านี้ถูกนำมาจากพจนานุกรมและจากคำที่เราเคยพิมพ์ไปแล้ว นั่นคือระบบจะรู้จักคำเหล่านี้มากขึ้น คุณสมบัติใหม่อีกอย่างคือหากต้องล้างคำที่ระบบจำไว้ก็สามารถทำได้ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อต้องการเปลี่ยนผู้ใช้อุปกรณ์

โทรศัพท์

คุณสมบัติด้านโทรศัพท์ของ WM6 ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญคือ การสนับสนุน VoIP แต่ก็ไม่น่าตกใจเพราะโทรศัพท์เคลื่อนที่ โนเกีย E ซีรี มีคุณสมบัตินี้มาก่อนแล้ว และการโทรผ่านอินเตอร์เน็ตก็เป็นแนวโน้มของตลาดมาระยะหนึ่งแล้ว นวัตกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ควรค่าแกการกล่าวถึง
คุณสมบัติที่ชื่อ Smart Dial 2.0 ซึ่งช้วยให้เราค้นหาชื่อและเลขหมายได้อย่างรวดเร็วโดยกดปุ่มตัวอักษร เพียงสองหรือสามตัวแรก ระบบจะค้นและแสดงชื่อที่เราติดต่อบ่อย คุณสมบัตินี้เดิมปรากฎใน WMS แต่ใน WM6 เราจะพบคุณสมบัตินี้ใน WMC ด้วยเช่นกัน
ปุ่ม Speed Dial ช้วยให้เราโทรออกโดยใชรายชื่อในบันทึกชื่อผู้ติดต่อได้โดยตรง ปุ่ม Cell History หรือประวัติการโทร ช่วยให้เราโทรไปยังหมายเลขที่เคยโทรไปล่าสุดได้ง่าย ใน WM5 การหาชื่อจากรายการ Call History ค่อนข้างน่ารำคาญเพราะหากเราโทรหาคนอื่นๆ เป็นไปอย่างประดักประเดิด แต่ใน WM6 มีการจัด Call History ไว้เป็นหมวดหมู่ทำให้การค้นหาชื่อทำได้สะดวกขึ้น
ไฟล์ที่นำมาใช้เป็น rin tone ได้นั้นมีสี่ขนิดด้วยกัน คือ wav, wma, mid และ mp3 ส่วนวิธีเรียกกำหนดได้ 5 แบบคือ เสียงอย่างเดียว เสียงดังขึ้นเรื่อยๆ สั่นอย่างเดียว สันและเสียง สั่นก่อนแล้วตามด้วยเสียง หากต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีเตือนสยเข้าหรือแสดงภาพผู้เรียกเข้าอาจใช้โปรแกรม
Photo Contacts Pro ก็ได้เหมือนกัน

Outlook Mobile

งานหลักอย่างหนึ่งของ HPC ก็คือ ช้วยให้เรามีบันทึกราชื่อ เบอร์โทรศัพท์ ตารางนัดหมาย รายการงานที่ต้องทำ และสมุดบันทึกติดตัวไปไหน ได้
สามารถแก้ไขข้อมูล เหล่านี้ และนำไปปรับให้ตรงกับพีซีได้ง่าย ใน HPC ปกติเราจะใช้โปรแกรม Outlook Mobile เพื่อการจัดเก็บและอ่านข้อมูลเหล่านี้ และใน WM6 ไมโครซอฟท์ปรับคุณสมบัติของ OM ไปหลายอย่าง โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเป็นไปเพียงเพื่อให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของโปรแกรม Microsoft Exchange Server 12 (MES12)

MES12 คือโปรแกรมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทไมโครซอฟท์ นิยมใช้ในหน่วยงานที่ใช้ซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานของไมโครซอฟท์ ทำหน้าที่ช่วงให้พนักงานสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกันได้สะดวก เช่นตารงนัดหมาย ปฎิทินที่ใช้ร่วมกัน บันทึกหมายกำหนดการ และอีเมล์เป็ต้น
Contacts : ความสามารถของ OM ส่วน contacts ใน HPC ใกล้เคียงกับในพีซีคือ มีช่องให้กรอกข้อมูลต่อหนึ่งคนมากถึง 37 ช่อง กำหนดเสียงเรียกเข้าและภาพถ่ายของแต่ละคนได้ ใน WM6 ส่วน contacts มีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น ตอนนี้เราสามารถแก้ไขข้อูลได้จากรายการโดยตรง เมนูถูก tacts แสดงข้อมูลว่าเราโทรคุยกับคนผู้นั้นล่าสุดเมื่อใด สรุปว่าการเปลี่นแปลงในส่วน contacts มีน้อยเสียจนผู้ที่ไม่ได้ช้บ่อยอาจไม่ทันสังเกต
Calendar : เราใช้โปรแกรมนี้เพื่อจัดนัดหมายกำหนดการต่างๆ เช่น การประชุม ลำดับของงานที่ต้องทำ เราสามารถปรับกำหนดการเหล่านี้ให้ตรงกับข้อมูลในพีซีหรือข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ได้โดยอัตโนมัติ ความสามารถของโทรแกรมนี้ใน WM6 ยังเหมือนเวอร์ชันเดิม นั่นคือยังห่างชั้นจากเอาต์ลุกในเครื่องพีซีมาก
อย่างไรก็ดี calender ใน WM6 มีการปรับปรุงเล็กน้อยหลายอย่าง เช่นในมุมมองแบบ Day มีการเพิ่มแถบแนวนอนด้านบน ภายในแถบมีสีบอกให้รู้ว่าวันนี้ เรามีหมายกำหนกการมากน้อยเพียงใด และจะถึงกำหนดเวลาเมือใด หากเราได้รับการนัดหมายผ่านทางอีเมล์ เราสามารถกำหนดการนัดหมายนั้นถูกเพิ่มเข้าไปในรายการโดยตรงได้ นอกจากนี้เรายังส่งข้อมูลไปยังองค์ประชุมเพื่อแจ้งข่าวสารสำคัญที่ต้องให้ทั้งกลุ่มรับรู้พร้อมกัน เช่น บอกว่าเราจะเข้าประชุมสาย หรือเราเชิญคนเข้าประชุมเพิ่ม หากบริษัทเราใช้ MES12 จะทำให้คุณสมบัติบริหารมีความสามารถมากขึ้น คุณสมบัติอีกอย่างที่มีเพิ่มใน WM6 คือความสามารถในการกำหนดสถานะของเราว่าไม่อยู่ในสำนักงาน และกำหนดข้อความที่คุ่กบสถานะนี้ได้
Task : เราใช้โปรแกรมนี้เพื่อกำหนดรายการงานที่ต้องทำ เมื่อเทียบกับโปรแกรมเดียวกันในพีซีแล้ว Task ใน WM6 มีความสามารถต่ำกว่ามาก เพราะกำหนดได้เพีงวันและเวลาที่จะเริ่มทำงาน ลำดับความสำคัญ กลุ่มของงานและปริมาณงานที่เสร็จแล้ว โดยร่วมแล้วไม่มี้อความเปลี่ยนแปลงใดๆ จากเวอร์ชันก่อน
Note : โปรแกรมนี้ช้วยให้เราบันทึกข้อความสั้นๆได้โดยใช้เชียนด้วยลายมือ หรือกดรูปแป้นพิมพ์บนจอ หรือจะบันทึกเป็นเสียงก็ได้ หากเราบันทึกข้อความระหว่างโทรออกหรือรับสายเข้า ข้อความจะปรากฎในประวัติการโทรคู่กับ contact นั้นด้วย
Messaging : เดิมโปรแกรมรับส่งอีเมล์ใน WM ไม่สู้จะดีเด่นนัก จนกระทั่งการปรากฎตัวของคุณสมบัติชื่อ Microsoft Direct Push ใน WM5 AKU 2.0 ที่ส่วนใน WM6 สิ่งที่ปรับปรุงใหม่อย่างชัดเจนคือ โปรแกรมรับส่งอีเมล์สามารถเปิดอีเมล์ปบบ HTML ได้
คุณสมบัติ Snart Filter ช่วยให้เราค้นหาอีเมล์ต้องการได้โดยไต้องกดปุ่มมากครั้ง คล้ายคุณสมบัติ Smart Dial ที่พูดถึงไปแล้ว ส่วนคุณสมบัติใหม่อื่นๆ เช่น Quick flags และ Sharepoint ล้วนทั้งสิ้น หากหน่วยงานที่เราทำงานด้วยไม่ได้ใช้ MES12 เราจะไม่สามารถใช้งานคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ได้

Office Mobile

ดูเหมือนว่าความกระตือรือร้นของไมโครซอฟท์ที่จะปรับปรุงโปรแกรม Office Mobaile ได้ซาลงไปแล้วหลังการปรับปรุงขนานใหญ่ใน WM5.0 สิ่งที่เพิ่มใหม่อย่างเดียวที่สังเกตเห็นได้ใน OFM ของ WM6 คือมีแถบแสดงความก้าวหน้าเมื่อเปิดไฟล์ขนาดใหญ่ที่ใช้เวลาโหลดนาน
Excel Mobile : ใช้เปิดดู แก้ไข หรือสร้างไฟล์เวิร์ดไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงจากเวอรืชันเดิม
Word Mobile : เปิดดู แก้ไข หรือสร้างไฟล์เวิร์ด จัดรูปแบบอักษร จัดย่อห้า ได้เหมือนโปแกรมในพีซีแต่ไม่มีคุณสมบัติชั้นสูงต่างๆเช่นการใส่ตารางและรูปภาพ สรุปวาไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงจากเวอร์ชันเดิมเช่นกัน
PowerPoint Mobile : ใช้เปิดไฟล์หรือใช้ชมงานนำเสนอได้ แต่แก้ไขไม่ได้การเปิดไฟล์ใหญ่ๆ ทำได้อย่างราบรื่น แต่โดยรวมแล้วยังเหมือนเวอร์ชันเดิม
Calculator : เครื่องคิดเลขยังคงเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

การใช้งานอินเตอร์เน็ต
การเปิดเว็บด้วยโปรแกร IE ยังคงเหมือนเดิม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงจากเวอร์ชันเก่า เรายังคงเปิดเว็บได้เพียงหน้าเดียว ไม่มีคุณสมบัติที่ช่วยให้เปิดเว็บได้หลายๆ หน้า พร้อมกันแบบใน FireFox หรือ IE7 หน้าเว็บสามารถแสดงได้ที่ขนาดหนึ่งต่อหนึ่ง เหมือนในพีซี

มัลติมีเดีย
โปรแกรม Windows Media เป็นเวอร์ชัน 10.3 ซึ่งแทบจะไม่แตกต่างจาก Windows Media , Windows Mobile 2003 Second Player สำหรับผู้ใช้มือใหม่อาจพบว่าตอบสนองความต้องการได้อย่างน่าพอใจ แต่ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์มักหันไปใช้โปรแกรมที่มีลูกเล่นมากกว่า
เช่น Core Player และ Poket Player คาดว่าไมโครซอฟท์คงจะออก Windows Media 11 ซึ่งสนับสนุนอุปกรณ์ UPnP และการซื้อเพลงเข้าสู่ HPC โดยตรงในเร็วๆนี้

MSN
ในพีซีการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเพื่อนหรือผู้ร่วมงานเราจะใช้โปรแกรม Windows Live Messenger ใน HPC เดิมมีโปรแกรม Poket MSN แต่ใน WM6 โปรแกรม Pocket MSN ถูกแทนที่ด้วยโปรแกรม Live Messenger Mobile (LMM) การใช้งานโปรแกรม LMM ทำได้ใกล้เคียงกับโปรแกรม Windows Live Messenger ในพีซี นั่นคือเราสามารถพิมพ์ข้อความพูดคุย ส่งภาพ ส่งไฟล์ ส่ง คลิป VDO หรือจะใช้เสียงพูก็ได้ หาก HPC สองเครื่องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วย GPRS ทั่งสองฝ่ายจะสามารถสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตได้ราวกับกำลังใช้วิทยุรับส่ง

ซอฟต์แวร์ปกิณกะ
ซอฟต์แวร์กิณกะคือโปรแกรมที่ใช้ด้านต่างๆผนวกมาให้กับ WM6 โดยมีโปรแกรมสามตัวหลักๆ ดงนี้
MarketPlace : เป็นโปรแกรมช่วงให้เราหาซื้อโปรแกรมประยุกต์สำหรับ HPC แล้วดาวน์โหลดมาติดตั้งในอุปกรณ์ของเราได้ เป็นการซื้อขายโดยตรงระหว่างเรากับผู้ค้าซอฟต์แวร์ นอกจากจะใช้ MarketPlace เพื่อซื้อโปรแกรมประยุกต์แล้ว ยังใช้เพื่อซื้อ add-on หรือ plug-in ได้ด้วย
Encryption : มีเสียงบ่นกันมากว่าเมื่อการ์ดหน่วยความจำถูกขโมยไป ผู้ไหวังดีจะสามารถอ่านข้อมูลที่เป็นความลับของเราและขององค์กรได้ WM6 จึงมาพร้อมกับซอฟต์แวร์สำหรับเข้ารหัส
Remote Destop Mobile : เราสามารถใช้โปรแกรมนี้เข้าถึงพีซีที่อยู่หางไกลออกไปได้โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมพิเศษเพิ่มเติมใดๆ หากพีซีเป็นระบบปฎิบัตืการวินโดวส์ เอ็กซ์พี (Pro)

Windows Mobile Device Center 6 for Windows Vista
ผู้ใช้วินโดวส์ วิสต้า สามารถเชื่อม HPC เข้ากับฑ๊ซ๊ได้ด้วย ActiveSync เวอร์ชันใหม้ชื่อ Windows Mobile Device Center 6 For Windows vista (ยาวจริง) ซึ่งมีความน่าสนใจหลายอย่างดังนี้
Streamlined setup : การกำหนดค่าต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้นด้วย wizard
Robust synchronization : การปรับข้อมูลระหว่าง HPC กับพีซีทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
Enhance user interface : อินเตอร์เฟซสวยกว่าเดิม น่าใช้ขึ้นมาก
File browsing : ใช้พีซีเปิดดูไฟล์ใน HPC ได้โดยตรง
Photo management : นำภาพใน HPC ผนวกเข้ากับ vista ญ้นะน ฌฟสสำพั ในพีซีได้ดดยอัตโนมัติ
Media synchronization : ใช้โปรแกรม WMP ในพีซีจัดการไฟล์เพลงใน HPC ได้

WM6 มาแล้ว
สำหรับโทรศัพท์มือถือบางรุ่นสามารถอัพเกรดเป็น WM6 ได้ เช่น Dopod 838Pro, D810, P800W, U1000 ยี่ห้อ Gigabyte รุ่น i300 และยี่ห้อ T-Mobile รุ่น Dash ส่วนมือถือใหมที่ติดตั้ง WM6 ไว้แต่แรกเลยเริ่มออกวางจำหน่ายแล้ว เช่น XDA terra ของ O2, G900 ของ Toshiba และ ASUS Aries ของ ASUS ส่วนยี่ห้ออื่นๆ คงจะออกรุ่นที่เป็น WM6 ครบทุกยี่ห้อภายในปี่นี้
แม้ WM6 จะต่างจาก WM5 ไม่มาก และการปรับปรุงส่วนใหญ่ผู้ใช้จะไม่ได้รับประโยชน์หากไม่ได้ใช้ร่วมกับ MES12 แต่ถ้า HPC ของท่านสามารถอัพเกรดเป็น WM6 ได้ให้รีบไปอัพซะ เพราะ WM6 มีอินเตอร์เฟซมราสวยทันสมัยเข้ากับวินโดวส์ วิสต้าและทำงานได้เร็วขึ้นมาก เพียงเท่านี้ก็คุ้มค่ากับการอพเกรดแล้ว ส่วนการปรับปรุงคุณสมบัติต่างๆ แม้จะไม่หวือหวาแต่เมื่อมองดดยร่าวมแล้ว WM6 น่าใช้กว่า WM5 อย่างไม่น่าสงสัย!

ขอขอบคุณ ลาภลอย วานิชอังกูร@winmag
ดัดแปลงนำเสนอ tanjen.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น